MOVING AVERAGE ( ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ )

            เป็นการนำเอาราคาของหุ้นย้อนหลังตามจำนวนวันที่เราต้องการพิจารณา นำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อดูทิศทางของราคาหุ้น ณ วันที่เราพิจารณา เช่น MA10 หมายถึง ราคาหุ้นย้อนหลังจากวันที่เรากำลังพิจารณาไป 10 วัน เป็นการนำเอาราคาแต่ละวันมาเฉลี่ยกัน เหตุที่เรียกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ก็เพราะในวันถัดไปค่าเฉลี่ยก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน

            จำนวนวันที่นำมาหาค่าเฉลี่ยเป็นที่นิยมกันได้แก่ MA5, MA12, MA26, MA75, MA200 จำนวนวันจะบ่งบอกว่าเป็นการพิจารณาราคาในระยะสั้น กลาง หรือ ระยะยาว ความเห็นส่วนตัวผม และผมก็ใช้อยู่เป็นประจำมีด้วยกัน 3 ตัวคือ

MA5, MA12, MA26        เป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น

MA 75                           เป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะกลาง

MA200                          เป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว

วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นิยมทำกัน 2 แบบคือ

1.) Simple Moving Average   เป็นการให้น้ำหนักการเฉลี่ยเท่าๆกัน

2.) Exponential Moving Average  เป็นการให้น้ำหนักราคาค่อนมาทางเวลาใกล้ปัจจุบันมากกว่าราคาในช่วงอดีต ส่วนสูตรการหาค่าเฉลี่ยแบบ simple หรือ exponential ผมไม่ขอนำมาแสดงในหนังสือเล่มนี้ เพราะการหาค่า SMA หรือ EMA สามารถใช้โปรแกรมเช่น MetaStock คำนวนและแสดงกราฟได้ แต่สิ่งที่ผมอยากให้คุณๆรับรู้ก็คือ การนำมันไปใช้ทำนายหุ้นมากกว่าครับ

 

ประโยชน์ของ Moving Average

1.) เมื่อนำค่า moving average แต่ละวัน นำมาเขียนกราฟ ก็จะได้เส้น MA Line ซึ่งสามารถบอก trend ของราคาได้

2.) สามารถบอกสภาวะตลาดได้ว่าเป็น Bullish State หรือ Bearish State โดยสังเกตจากการเรียงตัวของเส้น MA
ฺิ
Bullish State ( สภาวะกระทิง )


จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT สภาวะที่แถบเงาสีน้ำเงิน เป็นสภาวะตลาดกระทิง ( Bullish State ) โดยสังเกตจากเส้นค่าเฉลี่ยที่มีการเรียงตัวของเส้น MA5(cyan) MA12 (magenta)  MA26 (blue) โดยที่เส้น MA ระยะสั้นจะอยู่บนสุด และเส้น MA ระยะยาวจะอยู่ล่างสุด ซึ่งในที่นี้การเรียงตัวจากบนมาล่างของเส้น MA คือ MA5,MA12,MA26

 
Bearish State
จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT สภาวะที่เป็นแถบสีแดงเป็นสภาวะตลาดหมี (Bearish State) โดยสังเกตจากเส้นค่าเฉลี่ยที่มีการเรียงตัวของเส้น MA26 (blue), MA12 (magenta) , MA5 (cyan)  โดยที่เส้น MA ระยะยาวจะอยู่บนสุด และเส้น MA ระยะสั้นจะอยู่ล่างสุด ซึ่งในที่นี้การเรียงตัวจากบนมาล่างของเส้น MA คือ MA26, MA12, MA5

3.) ใช้เป็นสัญญาณในการซื้อหรือขาย
ฺีสัญญาณซื้อ
( Buy Signal)


เมื่อราคาหุ้นทะลุและอยู่เหนือเส้น MA เป็นสัญญาณซื้อ จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT โดยเราใช้ MA26 วันเป็นตัวพิจารณา เมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้น MA26 และอยู่เหนือเส้น MA26 ได้ ลักษณะนี้เกิดสัญญาณซื้อโดยที่เราสามารถเข้าซื้อหุ้น ณ ระดับราคาจุดตัดได้แลย

สัญญาณขาย ( Sell Signal )


เมื่อราคาหุ้นทะลุและอยู่ใต้เส้น
MA จะเป็นสัญญาณขาย จากตัวอย่างกราฟราคาหุ้น IFCT โดยเราใช้ MA26 วันเป็นตัวพิจารณา เมื่อราคาหุ้นทะลุผ่านเส้น MA26 และอยู่ใต้เส้น MA26 ลงมา ลักษณะนี้เกิดสัญญาณขายโดยที่เราควรจะขายหุ้นออก ณ ระดับราคาจุดตัดได้แลย

4.)ใช้เป็นสัญญาณเตือนว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่รุนแรงทั้งในแง่ราคาขึ้นแรง หรือราคาลงแรง

จากรูปเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
MA5,MA12,MA26 มาบรรจบกัน ซึ่งมันกำลังสื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรง (กว่าปกติ ) ตัวอย่างในรูปเส้น MA ทั้งสามเส้นมาบรรจบกัน หลังจากนั้นราคามันก็ดิ่งลงอย่างมาก
 

            ผมว่านะ แค่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพียงตัวเดียวมันก็ทำให้เราสามารถทำนายหุ้นได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้ว indicators เพียงตัวเดียวไม่สามารถทำนายได้แม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์หรอกครับ ยังต้องอาศัยตัวอื่นๆมาช่วยทำนายเพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกันได้

             ความรู้พื้นฐานของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จะทำให้เราเข้าใจตัว indicators ตัวอื่นๆได้เป็นอย่างดี