.....ก่อนอื่นคงต้องยอมรับกันนะครับว่าทฤษฎีในการวิเคราะห์หุ้น
( Technical Analysis )
นั้นมันเป็นทฤษฎีของฝรั่ง
เพราะฝรั่งเขาเปิดหรือสร้างตลาดทุนกันมาก่อนบ้านเรา
ดังนั้นทฤษฎีต่างๆที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่ของคนไทย
แต่เราเป็นผู้นำมาใช้เท่านั้น .....เช่นเดียวกัน
Richers ได้ศึกษาทฤษฎีของ Elliott Wave
มาพอสมควรและเห็นว่ามันมีประโยชน์
และก็พอที่จะapplyใช้กับตลาดหลักทรัพย์บ้านเราได้เหมือนกันแต่ก็ไม่สมบูรณ์
100 % นะครับ
เพราะนักเล่นหุ้นบ้านเราเป็นนักเก็งกำไรกันเสียส่วนใหญ่
แต่ถ้าเราเก็งกำไรแบบอาศัยดวงอย่างเดียวผมว่าคงไม่
success แน่ครับ
แต่ถ้าเราเก็งกำไรแบบอาศัยดวงพร้อมกับศึกษาทฤษฎีการวิเคราะห์หุ้นบ้าง
มันก็จะสามารถทำให้เราไม่ตื่นตระหนก
และมีความมั่นใจในการเล่นหุ้น
ทำให้เรา success
ได้อย่างมีความสุขครับ .....ทฤษฏี
Elliott Wave สร้างขึ้นโดย Ralph Nelson
Elliott ซึ่งเขาได้พัฒนามาจาก Down
Theory
โดยเนื้อหาบทสรุปของทฤษฎีนี้คือ
Pattern
ของราคาหุ้นมันจะมีพฤติกรรมเป็นลักษณะลูกคลื่น
ซึ่งสามารถแจงรายละเอียดในหลักการได้ดังนี้
- ถ้ามีแรงกระทำย่อมมีแรงโต้ตอบ
ซึ่งอนุมานในการเล่นหุ้นคือ
เมื่อหุ้นมีขึ้น
มันก็ต้องมีลง
และเมื่อมันลงถึงจุดนิ่งแล้ว
มันก็พร้อมที่จะขึ้นในรอบต่อไป
ซึ่งภาษานักวิเคราะห์หุ้นทั้งหลายเขาเรียกว่าหุ้นรีบาวน์
และหุ้นปรับฐาน
.
- ึElliott Wave
ประกอบด้วยลูกคลื่นในขาขึ้น
5 ลูก ( 1-2-3-4-5)
และลูกคลื่นในขาลง 3 ลูก
(a-b-c)
ในช่วงขาขึ้นเราเรียกว่า
Impulse ส่วนขาลงเราเรียกว่า
Correction
.
- ในหนึ่งรอบหรือ
cycles ของ Elliott Wave นั้นจะเป็น series
ของ impulse และ correction
.
.....จากนิยามข้างต้นสามารถแสดงด้วยกราฟดังข้างล่าง
และแนะนำว่าคุณต้องจำ pattern
นี้เอาไว้ให้แม่นยำ wave
1,2,3,4,5,a,b,c
.....จากกราฟจะเห็นว่าจุดสูงสุดของรอบจะอยู่ที่คลื่นลูกที่
5
ส่วนจุดเริ่มต้นคือคลื่นลูกที่
1
ในช่วงที่หุ้นเป็นขาขึ้น
การขึ้นยังไม่แรงเท่าที่ควร
เพราะนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นต่างคอยดูเชิงซึ่งกันและกัน
ราคาหุ้นก็จะไต่ขึ้นมาที่คลื่นลูกที่
1 หลังจากนั้น
ก็จะมีนักเล่นหุ้นบางกลุ่มที่คอยจังหวะขายหุ้นโดยที่หวังกำไรไม่มากนัก
หรือ
อย่างน้อยก็ขาดทุนไม่มาก
ทำให้หุ้นปรับฐาน( retrace )
ลงมาเล็กน้อยที่คลื่นลูกที่
2 .....หลังจากราคาหุ้นได้ปรับฐานมาที่คลื่นลูกที่
2 แล้ว ในช่วงนี้เอง volume
การซื้อขายเริ่มมากขึ้น
ทำให้นักเล่นหุ้นอื่นๆมองเห็นแนวโน้มทิศทางของหุ้นตัวนี้
จึงเริ่มเข้าซื้อหุ้นด้วย
volume ที่มาก
ทำให้ราคาหุ้นปรับตัว ( rebound
) สูงขึ้นมาก โดยทฤษฏีแล้ว
คลื่นลูกที่ 3
จะเป็นคลื่นลูกที่สูงที่สุด .....ราคาหุ้นปรับตัวมาที่คลื่นลูกที่
3
ทำให้นักเล่นหุ้นมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ
จึงเริ่มทะยอยขายหุ้นออกมา
ราคาหุ้นก็เริ่ม retrace
มาที่คลื่นลูกที่ 4
การปรับฐานของราคาหุ้นมาที่คลื่อนลูกที่
4
นี้ดูเหมือนว่ามันน่าจะหยุดขึ้นต่อไป
แต่ทั้งนี้ยังมีนักเล่นหุ้นบางกลุ่มที่ตกขบวนรถไฟ
และยังมีความเชื่อว่าหุ้นตัวนี้สามารถวิ่งต่อได้
จึงเข้าไล่ซื้ออีกรอบหนึ่ง
ทำให้หุ้นสามารถวิ่งต่อไปได้จนถึงคลื่นลูกที่
5 แต่โดยพฤติกรรมแล้ว
คลื่นลูกที่ 5
จะมีขนาดสั้นกว่าลูกที่ 3
เนื่องจากความกล้าๆกลัวๆของนักเล่นหุ้นทำให้ตัดขาย
หรือทำกำไรเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว .....เมื่อราคาหุ้นปรับตัวมาที่จุดสูงสุดคือคลื่นลูกที่
5 แล้ว
และมีการขายทำกำไรกันออกมา
ทำให้ราคาหุ้นปรับฐานลงมาที่คลื่น
a,
การขายรอบนี้นักเล่นหุ้นจะประสานเสียงหรือร่วมมือร่วมใจกันขายหุ้นออกมาปริมาณมาก
หรือบางครั้งเกิด panic เล็กๆ
เมื่อหุ้นปรับฐานมาที่คลื่น
a
นักเล่นหุ้นบางคนจะมองว่าราคาหุ้นมันถูกลงจึงเข้าซื้อทำให้ราคาหุ้น
rebound
เล็กน้อยไปที่คลื่นลูกที่
b
แต่การขึ้นครั้งนี้มันขึ้นไม่แรง
เพราะมันยังไม่สามารถเอาชนะใจคนอื่นๆได้
พอขึ้นไม่แรงก็ขายดีกว่า
ทำให้มีการขายหุ้นกันออกมาทำให้ราคาหุ้นปรับฐานลงที่คลื่น
c .....หลังจากจบคลื่น
c
แล้วก็ถือว่ามันครบรอบหรือ
cycle ของหุ้นอย่างสมบูรณ์
ผมขอทวนนะครับ คลื่น Elliott Wave
ประกอบด้วยหุ้นขาขึ้น (
impulse) คลื่นลูกที่ 1,2,3,4,5
ส่วนหุ้นขาลง ( correction )
มีคลื่นลูก a,b,c .....
การเข้าใจพฤติกรรมของหุ้นโดยอาศัยหลัก
Elliott Wave
จะทำให้เรารู้สถานะและแนวโน้มของมัน
ทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นในการ
trade .....จากที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียง
Basic Concept เท่านั้น
แต่มันยังมีความซับซ้อนมากกว่านี้
โดยที่หุ้นขาขึ้นลูกที่
1,2,3,4,5
สามารถรวบเป็นคลื่นลูกที่
1 และหุ้นขาลง a,b,c
สามารถรวบเป็นคลื่นลูกที่
2 ได้ เช่นกราฟด้านล่าง
.....การที่หุ้นมัน
rebound หรือ retrace นั้น
ถามว่ามันจะขึ้นไปถึงไหน
และ มันจะลงมาถึงไหน
ตรงจุดนี้ก็มีทฤษฎีที่อธิบายได้เช่นกันนั่นคือ
Fibonacci Numbers
ซึ่งเป็นเนื้อหาที่สามารถเขียนเป็นหนังสือหรือคู่มือเป็นเล่มหนาประมาณ
1 นิ้วได้
ซึ่งผมไม่สามารถนำมาอธิบายในที่นี้ได้
แต่ก็ขอนำเอาผลของมันมาใช้เลยดีกว่าครับ .....Fibonacci
Numbers
เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับธรรมชาติ
เป็นตัวเลขที่เรียกได้ว่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว
ตัวเลขที่เราสามารถนำมาใช้ได้เลยมีดังนี้
แบบทศนิยม |
แบบเปอร์เซ็นต์ |
0.236 |
23.60
% |
0.382 |
38.20
% |
0.500 |
50.00
% |
0.618 |
61.80
% |
0.764 |
76.40
% |
1.000 |
100.00
% |
1.382 |
138.20
% |
1.618 |
161.80
% |
2.618 |
261.80
% |
4.236 |
423.60
% |
...... |
|
.
|
....หลายคนคงพอจะคุ้นกับตัวเลขพวกนี้บ้างนะครับ
อย่างน้อยนักวิเคราะห์หุ้นหลายสังกัดก็นิยม
หรือพูดถึงกันมากเช่น
หุ้นกำลังปรับฐานลงมาในระดับ
38.20%
ซึ่งก็คือแนวรับที่นักวิเคราะห์จะทำนายได้ว่าราคาหุ้นมันมีแนวรับที่ระดับราคาเท่าไหร่
ซึ่งอันที่จริงนักวิเคราะห์ก็ไม่ใช่หมอดู
หรือนักคำนวนที่เก่งกาจเท่าไหร่
(ต้องขอโทษที่กล่าวเช่นนี้
)
เพราะเราสามารถใช้โปรแกรมวิเคราะห์หุ้นมาใช้หาจุดแนวรับ
แนวต้านโดยใช้ tool
ได้มากมาย รวมทั้ง Fibonacci
Numbers ที่กล่าวไว้เช่นกัน
โปรแกรมที่นิยมสุดๆก็คือ
Meta Stock
ซึ่งปัจจุบันล่าสุดได้พัฒนาไปถึง
Version 8.00 แล้ว
ราคาก็ประมาณหมื่นกว่าบาท
ไม่ได้ promote ให้นะครับ
แต่คิดว่ามันมีประโยชน์ก็เลยแนะนำกัน |
.....เราลองมาดูตัวอย่าง
Fibonacci Numbers ที่ใช้ใน Meta Stock
กันดูบ้าง
....จากกราฟราคาหุ้นข้างต้น
เป็นตัวอย่างจริงของหุ้น
BBL
เมื่อราคาหุ้นมันขึ้นจากจุดที่
1 ไปจุดที่ 2
และมันก็ปรับฐาน retrace ลงมา
ทีนี้หากเราไม่มีวิชาติดตัวถามว่าราคาหุ้นมันควรจะลงมาเท่าไหร่ก็ไม่สามารถจะคาดคะเนได้
แต่หากเรามีวิชาติดตัว
คุณคงบอกได้นะครับว่าแนวรับมันควรจะอยู่ที่ไหน .....ถ้าเราใช้
Meta Stock
เราก็จะได้แนวรับหลายระดับได้แก่
แนวรับที่ 23.6% , 38.2%, 50.0%,
61.80%
ในที่นี้แนวรับมันหยุดที่
50% ที่ราคาใกล้ๆ 48
และหลังจากนั้นมันก็ rebound
ขึ้นต่อไป
โดยที่ตัวเลขแนวรับที่เกิดขึ้น
Meta Stock จัดการให้ทั้งหมด .....แน่นอนครับเราคงไม่ได้ใช้เจ้า
Fibonacci Numbers
เพียงอย่างเดียวมาวิเคราะห์หุ้น
ถ้าจะให้ดีเราควรนำเอา
indicators
ตัวอื่นๆมาวิเคราะห์ด้วยเช่นกัน
ซึ่ง indicators
พวกนี้ศึกษาได้จากหนังสือที่เกี่ยวกับ
technicalanalysis
ได้หลายเล่มในท้องตลาด .....ตัวอย่างข้างล่างเป็นการนำเอา
indicator เช่น MACD ( Oscillator )
มาประกอบในการวิเคราะห์
เพื่อหาว่าคลื่นของ ELLIOTT
มันวิ่งไปถึงคลื่นลูกที่
5 หรือยัง
ซึ่งจะสังเกตุเห็นว่าเส้นสีแดงที่ลากเชื่อมระหว่างจุด
3 และ 5 มีทิศทางขึ้น
ในขณะที่เส้นแดงที่ลากเชื่อมระหว่างจุดยอดของ
MACD มีทิศทางลง
ลักษณะนี้เรียกว่าเกิด
divergence
คือมันมีทิศทางสวนทางกัน
เช่นนี้ก็จะสามารถ forecast
ได้ว่ากราฟหุ้นได้มาถึงจุดสูงสุดคลื่นลูกที่
5 แล้ว
.....ช่วงขาลง
downtrend
เป็นช่วงที่คาดคะเนได้ยากพอสมควร
นักเล่นหุ้นบางคนสามารถทำกำไรจาก
price gainging
ได้ในช่วงหุ้นขาขึ้น
แต่ก็ต้องขาดทุนในช่วงหุ้นขาลง
เพราะการพยากรณ์ หรือ
คาดคะเนหุ้นขาลงมันจะยุ่งยากและซับซ้อนกว่าช่วงขาขึ้น .....หุ้นขาลงประกอบด้วยคลื่นลูกที่
A,B,C ซึ่งการปรับทิศทางลง
แบ่งเป็น
- Simple Correction
- Complex
Correction
Simple
Correction
หรือเรียกว่า zig-zag ก็ได้
โดยการปรับทิศทางลงของหุ้นประกอบด้วยคลื่นลูกที่
A,B,C ทั้งนี้คลื่นลูก B จะ retrace
ไม่เกิน 75% ของคลื่น A.และคลื่น
C
จะมีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับคลื่น
A
|
WAVE-B
ปกติจะมีขนาดของคลื่นเป็น
50% ของคลื่น A
และไม่ควรเกิน 75%
ของคลื่น A
WAVE-C
เป็นไปได้ตามกรณี
= 1.00 ของ คลื่น A.
= 1.62 ของ คลื่น A.
= 2.62 ของ คลื่น A.
|
|
.....นี่คือรูปแบบตัวอย่างของ
ZIG-ZAG Correction |
Complex Correction
มีด้วยกัน 3
รูปแบบ
Flat
Correction ลักษณะนี้จะมีรูปแบบเหมือน
sideway ออกไปด้านข้าง
โดยคลื่นลูก A,B,C
จะอยู่ในแนวราบออกด้านข้าง
Irregular
|
|
รูปแบบนี้คลื่น
B จะ retrace
เกินขนาดของคลื่น A |
|
|
|
|
|
|
Triangle Correction :
|
รูปแบบของ
Triangle Corrections จะformตัวขึ้นเป็นรูป
3 เหลี่ยม
โดยลากเส้นเชื่อมแนวต้าน
และลากเส้นเชื่อมแนวรับ
เส้นทั้งสองจะ form
ตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมที่ภายในมีคลื่น
a,b,c,d,e
.....ถ้าหุ้นอยู่ในช่วง
uptrend
มันก็จะทะลุผ่านแนวต้านสามเหลี่ยมและก็วิ่งขึ้นต่อไป |
|
|
|
.....ถ้าหุ้นอยู่ในช่วง
down trend
มันก็จะทะลุผ่านแนวรับสามเหลี่ยมและก็ล่วงลง |
|
|
|